ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ความอยู่ดีมีสุข

well-being

สภาพความเป็นอยู่ที่ดี และมีความสุขของบุคคลและสังคม

ความอยู่ดีมีสุขประกอบด้วยหลายมิติ ไม่มีกรอบที่แน่ชัดว่าประกอบด้วยมิติใดบ้าง มิติที่เป็นองค์ประกอบของความอยู่ดีมีสุข อาทิ มิติทางด้านสุขภาพ การศึกษา การงาน รายได้ สิ่งแวดล้อม ครอบครัว ชุมชน การมีส่วนร่วม และการปกครอง

ความอยู่ดีมีสุข มักปรากฏพร้อมคำคุณศัพท์เพื่อขยายความให้มีความเฉพาะเจาะจง เช่น ความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน (financial well-being) ความอยู่ดีมีสุขทางจิตใจ (psychological well-being) ความอยู่ดีมีสุขทางอารมณ์ (emotional well-being) ความอยู่ดีมีสุขทางกาย (physical well-being) ความอยู่ดีมีสุขทางสังคม (social well-being) ความอยู่ดีมีสุขในที่ทำงาน (workplace well-being)

ปรับปรุงล่าสุด 05/11/2564

 

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015