ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

แนวคิดส่งเสริมการเกิด

pronatalism

ปรัชญาหรือแนวคิดที่สนับสนุนการเกิดและไม่เห็นด้วยกับการคุมกำเนิด ซึ่งมาจากฐานความเชื่อ ๒ ประการ ประการแรก คือ ความเชื่อว่าไม่ควรที่จะไปขัดขวางชีวิตคนที่จะเกิดมาด้วยวิธีการใดๆ เช่น ความเชื่อของคนบางศาสนาที่ว่าการเกิดเป็นประสงค์ของพระเจ้า ไม่สมควรที่จะไปใช้เครื่องมือใดๆ ป้องกันการปฏิสนธิหรือทำลายผลของการปฏิสนธิเสียตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ประการที่ ๒ คือ ความเชื่อว่าจำนวนประชากรที่มากจะเป็นผลดีต่อสังคมหรือประเทศชาติ เช่น จำนวนประชากร หมายถึง กำลังทหาร หรือขนาดของตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภค สังคมหรือประเทศที่ยึดถือแนวคิดนี้จะไม่ส่งเสริมการวางแผนครอบครัวหรือการคุมกำเนิด

แนวคิดส่งเสริมการเกิดนี้ นอกจากจะมาจากฐานความเชื่อ ๒ ประการดังกล่าวแล้ว ยังอาจเกิดจากความกังวลที่ภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) กำลังลดลงอย่างรวดเร็วในบางประเทศ เนื่องจากปัจจุบันนี้หลายประเทศในโลกกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่เด็กเกิดน้อยลงอย่างมาก อัตราเจริญพันธุ์รวม (total fertility rate) ในประเทศเหล่านั้นลดลงต่ำกว่าภาวะเจริญพันธุ์ระดับทดแทน (replacement level fertility; replacement fertility) จนทำให้เกิดความกังวลว่า จำนวนประชากรในประเทศของตนจะลดลงเรื่อยๆ ประเทศที่เคยมีแนวคิดต่อต้านการเกิด (antinatalism) จึงหันไปมนโยบายส่งเสริมการเกิด ด้วยการส่งเสริมการแต่งงาน และใช้มาตรการต่างๆ เป็นแรงจูงใจให้คนมีลูกกันมากขึ้น

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015