เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เอสดีจี) สหประชาชาติ ได้จัดทำและเผยแพร่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งประชาคมโลกตกลงร่วมกันที่จะใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานด้านการพัฒนา เอสดีจี ได้กำหนดกรอบเวลาในการบรรลุเป้าหมายไว้ 15 ปี คือ ระหว่างปี ค.ศ.2015-2030
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แบ่งเป็น 5 มิติ ได้แก่
- มิติคน (people) ว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คน (ตามเป้าหมายที่ 1, 2, 3, 4, 5)
- มิติความมั่งคั่ง (prosperity) ว่าด้วยเรื่องความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึง (ตามเป้าหมายที่ 7, 8, 9, 10, 11)
- มิติโลก (planet) ว่าด้วยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ตามเป้าหมาย 6, 12, 13, 14, 15)
- มิติสันติภาพ (peace) ว่าด้วยเรื่องสันติภาพ สถาบันที่เข้มแข็ง และความยุติธรรม (ตามเป้าหมาย 16)
- มิติความเป็นหุ้นส่วน (partnership) ว่าด้วยเรื่องการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ตามเป้าหมาย 17)
โดยมีเป้าหมาย 17 ข้อ คือ
- ขจัดความยากจน (no poverty)
- ขจัดความหิวโหย (zero hunger)
- สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (good health and well-being)
- การศึกษาที่มีคุณภาพ (quality education)
- ความเท่าเทียมทางเพศภาวะ (gender equality)
- สุขาภิบาลและน้ำสะอาด (clean water and sanitation)
- พลังงานสะอาดและเข้าถึงได้ (affordable and clean energy)
- การเติบโตทางเศรษฐกิจและได้ทำงานที่มีศักดิ์ศรี (decent work and economic growth)
- โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม (industry, innovation and infrastructure)
- ลดความเหลื่อมล้ำ (reduced inequality)
- ชุมชนและเมืองที่ยั่งยืน (sustainable cities and communities)
- การผลิตและการบริโภคอย่างรับผิดชอบ (responsible consumption and production)
- การรับมือกับสภาพภูมิอากาศ (climate action)
- การอนุรักษ์ชีวิตใต้น้ำ (life below water)
- การอนุรักษ์ชีวิตบนบก (life on land)
- สถาบันเข้มแข็ง ยุติธรรม และสงบสุข (peace, justice and strong institutions)
- ความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (partnerships for the goals)
ปรับปรุงล่าสุด 05/08/2565
|