ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ฝุ่นละออง

particulate matter (PM)

อนุภาคของแข็ง หรือหยดละอองของเหลวที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ 

ฝุ่นละอองเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เช่น การจราจร การก่อสร้าง การเผาไหม้เชื้อเพลิงอุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม

ฝุ่นละอองมีขนาดแตกต่างกันทั้งที่สามารถมองเห็นหรือมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีหน่วยวัดเป็น ไมครอน โดย 1 ไมครอนมีค่าเท่ากับ 1 ในล้านของเมตร หรือ 1 ในพันของมิลลิเมตร ฝุ่นละอองที่แขวนลอยในอากาศ โดยทั่วไปมีขนาดเล็กกว่า 100 ไมครอน

ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีหลายขนาด ถ้ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหรือต่ำกว่า 10 ไมครอน เรียกว่า พีเอ็ม 10 หรือ ฝุ่นละอองหยาบ (coarse particulate matter) ถ้ามีขนาดเท่ากับหรือต่ำกว่า 2.5 ไมครอน เรียกว่า พีเอ็ม 2.5 หรือ ฝุ่นละอองละเอียด (fine particulate matter)

บางครั้งใช้ว่า particle matter

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 13/12/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015