ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

กิจกรรมทางกาย

physical activity

การเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน ด้วยการใช้กล้ามเนื้อโครงร่างหรือกล้ามเนื้อมัดใหญ่

องค์การอนามัยโลก แบ่งกิจกรรมทางกายออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) การทำงาน (activity at work) เช่น การทำงานบ้าน การทำงานที่เป็นอาชีพ (2) กิจกรรมการเดินทางไปมายังที่ต่างๆ (transportation activities) เช่น การเดินหรือขี่จักรยานไปทำงาน ไปวัดหรือไปตลาด และ (3) กิจกรรมนันทนาการ (recreational activities) เช่น การทำสวน การอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์

องค์การอนามัยโลก จำแนกความเข้มข้นของกิจกรรมทางกาย โดยอิงตามเกณฑ์ metabolic equivalent of task (MET) (1 MET มีค่าเท่ากับพลังงานที่ใช้ในการนั่งเฉยๆ หรือเท่ากับ 1 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม/ชั่วโมง) โดยค่าของ MET สามารถจำแนกตามลักษณะของกิจกรรมทางกาย ดังต่อไปนี้

ลักษณะกิจกรรมทางกาย ค่าของ MET (นาที)
การทำงาน ออกแรงปานกลาง MET = 4.0
ออกแรงอย่างหนัก MET = 8.0
การเดินทาง ขี่จักรยานหรือเดิน MET = 4.0
กิจกรรมนันทนาการ ออกแรงปานกลาง MET = 4.0
ออกแรงอย่างหนัก MET = 8.0

ระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสำหรับบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่การออกแรงระดับหนักเป็นเวลา 75 นาทีต่อสัปดาห์ และระดับปานกลางเป็นเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือเท่ากับ 600 MET-นาที ต่อสัปดาห์

นอกจากนี้ กิจกรรมทางการ ยังแบ่งออกได้เป็น

  1. กิจกรรมทางกายเพื่อสันทนาการ (recreational physical activity) เป็นกิจกรรมทางกายที่ทำเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อความสุขทางใจ เช่น เล่นกีฬา เดินเล่น เต้นรำ ทำสวนครัว
  2. กิจกรรมทางกายแบบ-แอโรบิก (aerobic physical activity) เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อและโครงร่างของร่างกายเคลื่อนไหวเป็นจังหวะเป็นระยะเวลานาน เพื่อให้ออกซิเจนเผาผลาญกลูโคสในร่างกาย กิจกรรมทางกายแบบแอโรบิก เป็นกิจกรรมที่ใช้ความอึดและความอดทน เช่น วิ่งระยะไกล เดินทน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน
  3. กิจกรรมทางกายแบบ-อแนโรบิค (anaerobic physical activity) เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อและโครงร่างของร่างกายเคลื่อนไหวเป็นจังหวะในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้กลูโคสในร่างกายถูกเผาผลาญไปโดยไม่ใช้ออกซิเจน เช่น ยกน้ำหนัก วิ่งเร็ว คาราเต้ เทนนิส แบดมินตัน

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 7/03/2568

 

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015