ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

สังคมพหุลักษณ์

plural society

สังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มชนที่แตกต่างกัน มักใช้คำนี้อธิบายลักษณะของรัฐชาติ ที่มีกลุ่มชนแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย บราซิล

เดิมใช้คำสังคมพหุลักษณ์กับประเทศที่เคยเป็นอาณานิคม ที่มีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละกลุ่มไม่มีความรู้สึกผูกพันกับรัฐชาติ เนื่องจากมีการแบ่งพื้นที่กันชัดเจน มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และมีสถาบันทางสังคมหลากหลาย

ในสังคมพหุลักษณ์ ผู้คนที่มาจากต่างกลุ่มชาติพันธุ์พบกันในที่สาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการซึ่งกันและกัน มีลักษณะการแข่งขันหรือมุ่งหาประโยชน์จากกลุ่มอื่นมากกว่ามีอุดมการณ์ร่วมกัน จึงมีการกำหนดกลไกทางสังคม เพื่อป้องกันความขัดแย้งวุ่นวายในการสื่อสารแลกเปลี่ยน เช่น ในอินโดนีเซีย ใช้ระบบคล้ายวรรณะ ลัทธิทางประชาธิปไตย และระบบสหพันธรัฐ เพื่อเป็นกลไกทางสังคมดังกล่าว

การศึกษาเรื่องสังคมพหุลักษณ์ อาจรวมประเด็นเรื่องอำนาจอธิปไตย เอกราช ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ สถาบัน ศาสนา และการปรับตัวของกลุ่มต่างๆ เพื่ออยู่ร่วมกันภายใต้ศูนย์กลางอำนาจเดียวกัน

ปรับปรุงเมื่อ 10/01/2568

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015