ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ทฤษฎีทางประชากร

population theory

กรอบแนวคิดที่ใช้อธิบายหรือพยากรณ์แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา การเมือง และอื่นๆ

ความพยายามที่จะทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางประชากรนั้นมีมาช้านานตั้งแต่สมัยกรีกและจีนโบราณ อย่างไรก็ตาม แนวคิดสมัยโบราณเหล่านั้นมักอธิบายปรากฏการณ์ประชากรว่าควรจะเป็นอย่างไรและจะเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมทั้งเหตุและผลของปรากฏการณ์ทางประชากร

นักคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันได้เสนอกรอบแนวคิดที่ซับซ้อนขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางประชากรและเชื่อมโยงกับปัจจัยภายนอกอื่นๆ โดยอาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์และวิธีการวิเคราะห์ทางประชากร อาจกล่าวได้ว่า ทฤษฎีประชากรสมัยใหม่ที่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจนและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ เริ่มด้วยแนวคิดทางประชากรของทอมัส รอเบิร์ต มัลทัส

ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลกันระหว่างการเพิ่มจำนวนประชากรกับการเพิ่มอาหาร ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอในการจำกัดการเพิ่มประชากรด้วยมาตรการที่ยอมรับได้ในทางศีลธรรมสมัยนั้น

ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักคิดจากศาสตร์แขนงต่างๆ ที่สนใจประเด็นเกี่ยวกับประชากรได้เสนอกรอบแนวคิดจำนวนมากเพื่ออธิบายองค์ประกอบและการเปลี่ยนแปลงประชากรในมิติต่างๆ ตัวอย่างทฤษฎีทางประชากรร่วมสมัย เช่น ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านทางประชากร (demographic transition theory) ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านทางวิทยาการระบาด (theory of epidemiologic transition) ทฤษฎีการตอบโต้หลายทาง (theory of multiphasic response) ทฤษฎีการแพร่กระจาย (diffusion theory) คหเศรษฐศาสตร์แนวใหม่ (new home economics) ทฤษฎีการถ่ายเทโภคทรัพย์ (wealth flow theory)

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 11/02/2568

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015