ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ภาวะน้ำหนักเกิน

overweight

สภาพที่ร่างกายมีปริมาณของไขมันสะสมในร่างกายมากเกินหรือผิดปกติ จนเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน ซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพ

ภาวะน้ำหนักเกินมีเกณฑ์วัดแตกต่างกันตามกลุ่มอายุ ดังนี้

วัยเด็ก: ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ใช้น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง (weight-for-height) โดยภาวะน้ำหนักเกินตัดที่มากกว่า + 2 S.D. แต่ไม่เกิน +3 S.D. (ถ้ามากกว่า +3 S.D. จัดเป็นโรคอ้วน) 

วัยผู้ใหญ่ (≥18 ปี): ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ใช้ค่าดัชนีมวลกาย โดยภาวะน้ำหนักเกินอยู่ระหว่าง 25.0 - 29.9 (ถ้าตั้งแต่ 30 ขึ้นไป จัดเป็นโรคอ้วน) ขณะที่หากใช้เกณฑ์ของ Asia-Pacific perspective ที่พัฒนาสำหรับประชากรในเอเชีย ภาวะน้ำหนักเกินจะอยู่ระหว่าง 23.0 - 24.9 (ถ้าตั้งแต่ 25 ขึ้นไป จัดเป็นโรคอ้วน) 

ในปัจจุบัน กรมอนามัยแนะนำให้ใช้คำว่า “ภาวะเริ่มอ้วน” เพื่อสื่อสารกับประชาชนทั่วไปให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 28/11/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015