ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

คนเร่ร่อน

nomad

กลุ่มคนที่เคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นประจำตลอดทั้งปี

คนเร่ร่อน เป็นคำที่นักมานุษยวิทยาสร้างขึ้น เพื่ออธิบายคนเร่ร่อน 2 ประเภท คือ กลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์ (hunter and gatherer) กับกลุ่มคนที่นำฝูงสัตว์เคลื่อนย้ายไปตามแหล่งทุ่งหญ้าที่เป็นอาหารสัตว์ หรือเรียกว่า คนเร่รอนตามแหล่งอาหารสัตว์ (pastoralism) ลักษณะสำคัญของคนเร่ร่อน 2 ประเภทนี้คือ มีชีวิตอยู่ได้อย่างอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจของกลุ่มคนที่มีที่อยู่ถาวร

คนเร่ร่อนอีกกลุ่มหนึ่ง นอกเหนือไปจากสองกลุ่มข้างต้นคือ คนเร่ร่อนตามแหล่งงาน (peripatetic nomad) ในสมัยปัจจุบัน จะมีคนที่เร่ร่อนย้ายถิ่นฐานไปตามสถานที่ที่จะทำมาหากินได้ เช่น พวกยิปซี (gypsies) คนงานที่ย้ายที่อยู่ไปตามแคมป์ที่พักคนงานก่อสร้าง

ปัจจุบัน มีคนเร่ร่อนดิจิทัล (digital nomad) ที่ทำงานหาเลี้ยงชีพโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการทำงาน ซึ่งทำให้เขาสามารถทำงานตามสถานที่ต่างๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับสถานที่ทางภูมิศาสตร์แห่งใดแห่งหนึ่ง

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 04/03/2565

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015