ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ความปกติใหม่

new normal

รูปแบบการดำเนินชีวิต หรือแบบพฤติกรรมอย่างใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
 
วิกฤติการณ์ที่นำไปสู่ภาวะปกติใหม่อาจเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน เช่น สถานการณ์โรคระบาดทั่วโลก (pandemic) เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (disruptive technology) การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (climate change) ซึ่งมีผลทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมต้องเปลี่ยนไป  วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปนี้อาจเป็นแบบอย่างใหม่ที่ถือปฏิบัติเป็นบรรทัดฐานจนกลายเป็นภาวะปกติใหม่ของสังคมต่อไป  อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป วิถีชีวิตของคนในสังคมอาจกลับไปสู่รูปแบบเดิมหรือเกิดเป็นภาวะปกติใหม่ขึ้นอีกก็ได้
 
ตัวอย่างภาวะปกติใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 บุคคลในสังคมต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยถือปฏิบัติมา อาทิ การทักทายโดยการสัมผัสมือหรือกอด เปลี่ยนเป็นการไหว้หรือทักทายด้วยวิธีอื่นในระยะที่ห่างพอสมควร  การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มาแทนที่การประชุมตามปกติ  การพบปะสังสรรค์อย่างใกล้ชิดกันเปลี่ยนมาเป็นการเว้นระยะห่างในสังคม (social distancing)  
 
คำนี้ บางทีใช้ว่า “บรรทัดฐานใหม่” “วิถีชีวิตใหม่” ด้วย
 
ปรับปรุงล่าสุด 03/09/2564

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015