ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

มาตราการวัด

measurement scale

วิธีจัดจำแนกข้อมูลเชิงปริมาณหรือตัวเลขออกเป็นระดับต่างๆ ตามคุณลักษณะของข้อมูลนั้น เพื่อการเลือกใช้สถิติวิเคราะห์อย่างถูกต้อง

มาตราการวัดแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ 

  1. มาตรานามบัญญัติ (nominal scale) คือ มาตราการวัดที่แบ่งลักษณะของสิ่งของหรือเหตุการณ์ออกเป็นหมวดหมู่ หรือกลุ่มต่าง ๆ แล้วตั้งชื่อหมวดหมู่หรือกลุ่มนั้น ๆ เช่น จำแนกประชากรออกเป็นสองเพศ คือ ชาย และหญิง หรือแบ่งพื้นที่ประเทศไทยออกเป็นจังหวัดต่าง ๆ
  2. มาตราอันดับ (ordinal scale)  คือ มาตราการวัดที่เกิดจากการจัดลำดับกลุ่มหรือหมวดหมู่ของสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งสามารถบอกได้ว่าค่าของกลุ่มหนึ่งมากกว่าค่าของอีกกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่สามารถระบุว่ามากกว่าเป็นปริมาณเท่าใด เช่น แบ่งประชากรออกตามฐานะทางเศรษฐกิจ เป็น "สูง" "กลาง" "ต่ำ"  แบ่งความพอใจของลูกค้าต่อบริการที่ได้รับเป็น "พอใจมาก" "ปานกลาง" "น้อย" และ "ไม่พอใจ"
  3. มาตราช่วง (interval scale)  คือ มาตราการวัดที่กำหนดค่าตัวเลขโดยมีช่วงห่างระหว่างตัวเลขเท่าๆ กัน มาตราช่วงสามารถนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกันได้ว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด หรือสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หารกันได้ แต่มาตราช่วงนี้ไม่มี 0 แท้ มีแต่ 0 สมมุติ เช่น อายุ 0 ปี หมายความว่า คนที่เกิดมาอายุยังไม่ครบปี แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีชีวิต หรืออุณหภูมิ 0 องศา ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีความร้อน
  4. มาตราอัตราส่วน (ratio scale)  คือ มาตราการวัดที่ใช้ค่าจริงของตัวแปร ปกติจะมีจุดเริ่มต้นเท่ากันที่ 0 มาตราการวัดประเภทนี้ เป็นมาตรฐานสากล ใช้เปรียบเทียบกันได้ทั้งต่างสถานที่และเวลา เช่น น้ำหนัก ความยาว ส่วนสูง

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 04/10/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015