ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

คนชายขอบ

marginal people

กลุ่มคนที่อยู่ภายนอกบริเวณศูนย์กลางของสังคมและวัฒนธรรมหลัก

คำว่า คนชายขอบ มักใช้เรียกกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา หรือทางกฎหมาย ซึ่งส่งผลให้พวกเขาด้อยโอกาสที่จะได้รับบริการ ความคุ้มครอง และความเอาใจใส่ดูแลจากรัฐอย่างเท่าเทียมกับคนอื่นๆ

สาเหตุที่ทำให้บุคคลหรือกลุ่มคนกลายเป็นคนชายขอบ มีอาทิ การมีถิ่นที่อยู่อาศัยในชนบทห่างไกล การมีร่างกายพิการจนเป็นข้อจำกัดทางการศึกษาและการทำงาน การเป็นคนในกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งมีข้อจำกัดทางภาษา วัฒนธรรม และสิทธิการเป็นพลเมืองของรัฐ การไม่มีสถานภาพทางกฎหมายในระบบทะเบียนราษฎร สาเหตุเหล่านี้อาจส่งผลต่อกันไปเป็นลูกโซ่ เช่น คนพิการ หรือคนไม่มีสถานะเป็นพลเมือง จะขาดโอกาสที่จะเรียนหนังสือในระดับสูง ทำให้ไม่สามารถทำงานหรือประกอบอาชีพที่มีรายได้สูงๆได้ ทำให้ตกอยู่ในสภาพยากจน และเข้าไม่ถึงสิทธิและบริการที่ควรจะได้รับจากรัฐ

ตัวอย่างของคนชายขอบในประเทศไทย เช่น ชนกลุ่มน้อย คนไร้รัฐ เด็กกำพร้า เด็กข้างถนน ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย

คนชายขอบ บางครั้งเรียกว่า ประชากรชายขอบ (marginal population)

ปรับปรุงล่าสุด 20/09/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015