ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ประชากรรุ่นเกิดล้าน

million birth cohort

ประชากรของประเทศไทยที่เกิดในช่วงตั้งแต่ 2506 - 2526 ซึ่งในช่วง 20 ปีนี้ มีเด็กเกิดในประเทศไทยมากกว่าปีละ 1 ล้านคน ประชากรรุ่นนี้นับเป็นคลื่นประชากรที่ใหญ่มากจนอาจเรียกได้ว่าเป็น "คลื่นสึนามิทางประชากร" (Population Tsunami) เมื่อประชากรรุ่นนี้อายุมากขึ้น ก็เป็นคลื่นประชากรที่เคลื่อนตัว กลายเป็นประชากรสูงอายุจนทำให้การสูงวัยของประชากร (Population Aging) ในประเทศไทยเป็นไปด้วยอัตราเร่งเร็วมากในอนาคตข้างหน้านี้

ประชากรของประเทศไทยที่เกิดในช่วงตั้งแต่ 2506 - 2526 ซึ่งในช่วง 20 ปีนี้ มีเด็กเกิดในประเทศไทยมากกว่าปีละ 1 ล้านคน

ประชากรรุ่นเกิดล้านนับเป็นคลื่นประชากรที่ใหญ่มากจนอาจเรียกได้ว่าเป็น "คลื่นสึนามิทางประชากร" (population tsunami) เมื่อประชากรรุ่นนี้อายุมากขึ้น ก็เป็นคลื่นประชากรที่เคลื่อนตัว กลายเป็นประชากรสูงอายุจนทำให้การสูงวัยของประชากร (population ageing) ในประเทศไทยเป็นไปด้วยอัตราเร่งเร็วมาก

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 04/10/2567

 

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015