ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

พยาบาลผดุงครรภ์

midwife

ผู้ที่ทำคลอดหรือช่วยทำคลอด

บางครั้งใช้ หมอตำแย

ในสมัยก่อนการแพทย์แผนปัจจุบัน วัฒนธรรมต่างๆ มีคำเรียกพยาบาลผดุงครรภ์ เช่น ภาษาไทยยวนเรียก “แม่จ่าง” ภาษาไทใหญ่เรียก “แม่เก็บ” ภาษาใต้แถบฝั่งอันดามันเรียก “แม่ทาน” ฝั่งอ่าวไทยเรียก “หมอตำแย” ภาษาไทยดำในเมืองแถนหรือเดียนเบียนฟูเรียก “หมอสิงแบ่” หรือ “หมอเห็นหน้า” ภาษาจ้วงเรียก “แม่ซึ้บเสง” ภาษาทางฝั่งอีสานใต้ สุรินทร์ ศรีษะเกษ เรียก “แม่ตอบหมอบ” ภาษาลาวใต้ทางจำปาสัก ปากเซ เรียก “แม่ตะหมอบ” ภาษาเขมรในเมืองเขมรเรียก “ฉม็อบ” หมายถึง หมอออกลูก ลาวเหนือหลวงพระบาง เวียงจันทร์ เรียก “หมอตำแย” ชาวมุสลิมเรียก “โต๊ะบิแด” หรือ “โต๊ะบิดัน”

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 04/10/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015