ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

การเคลื่อนย้าย

mobility

ความสามารถของบุคคลในการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง อาจแบ่งบุคคลที่มีศักยภาพหรือสมรรถนะในการเคลื่อนย้ายออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.ผู้เคลื่อนย้ายซ้ำซาก (Chronic Mover) หมายถึงผู้มีสมรรถนะในการเคลื่อนย้ายสูง โดยสามารถเคลื่อนย้ายได้บ่อยครั้งในระยะเวลาสั้น 2.ผู้เคลื่อนย้าย (Mover) หมายถึง ผู้เคลื่อนย้ายทั่วไปที่มีการเคลื่อนย้ายน้อยและภายในช่วงเวลายาวนาน และ 3.ผู้อยู่ติดที่ (Stayer) หมายถึง ผู้มีสมรรถนะในการเคลื่อนย้ายต่ำสุด โดยเกือบไม่มีการเคลื่อนย้ายเลยตลอดชีวิต ผู้เคลื่อนย้ายซ้ำซากมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ย้ายถิ่น (Migrant) สูงกว่าผู้เคลื่อนย้ายประเภทอื่นๆ

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015