ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

การรู้หนังสือ

literacy

ความสามารถในการอ่านและเขียน

ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร จำเป็นต้องขจัดการไม่รู้หนังสือ (illiteracy) ให้หมดไป อย่างน้อยต้องทำให้ผู้คนในประเทศทุกคนมีความรู้ในเรื่องสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ  

ปัจจุบัน มีการนำศัพท์คำนี้มาใช้ร่วมกับความรู้และทักษะในเรื่องต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและสร้างมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน เช่น ความรู้เรื่องอาหาร (food literacy) ความรู้เรื่องสุขภาพ (health literacy) ความรู้เรื่องดิจิทัล (digital literacy) ความรู้เรื่องการเงิน (financial literacy) เมื่อนำมาใช้ร่วมกับคำอื่นแล้ว เราจะใช้คำว่า ความรู้ เช่น ความรู้เรื่องสุขภาพ การเงิน เทคโนโลยี ดิจิทัล ในกรณีเช่นนี้ ความรู้ อาจแบ่งเป็น 3 ระดับจากน้อยไปหามาก คือ ไม่รู้ พอรู้ และรอบรู้หรือฉลาดรู้ 

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 13/09/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015