ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

เส้นโค้งลอจิสติก

logistic curve

กราฟที่แสดงการเพิ่มของประชากรที่เป็นไปอย่างช้า ๆ ในตอนแรก เร่งเร็วในตอนกลาง แล้วช้าลงในตอนหลัง มีลักษณะคล้ายอักษรตัวเอส (s) ยืด

เส้นโค้งนี้เสนอเป็นครั้งแรกโดยเวอฮัลสท์ (Verhulst) ใน ค.ศ.1838 แล้วนำมาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักโดย เพิร์ล และ รีด (Pearl and Reed) ใน ค.ศ.1920 หลักการของเส้นโค้งนี้ได้จากการสังเกตว่า สิ่งมีชีวิตและแบคทีเรียแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วมากในตอนแรกเมื่อสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ยังอุดมสมบูรณ์และมีพื้นที่มากสำหรับจำนวนเมื่อตอนเริ่มต้นนั้น อัตราเพิ่มจะช้าลงเมื่อประชากรสิ่งมีชีวิตหรือแบคทีเรียเข้าสู่จุดซึ่งมีความกดดันต่อทรัพยากรที่มีอยู่ หลักการของเส้นโค้งลอจิสติกเชื่อว่าอาจมีขีดจำกัดที่ประชากรจำนวนหนึ่งจะอาศัยอยู่ได้ และเมื่อถึงจุดนั้น ประชากรจะหยุดการเติบโต

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 13/09/2567


ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015