ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ตัวแปรระหว่างกลาง

intermediate variables

ตัวแปรที่จะมีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์โดยตรง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ 11 ตัวแปรย่อย คือ
     1) กลุ่มตัวแปรการร่วมเพศ (intercourse variables) แบ่งเป็น
          1.1 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจับคู่ของชายและหญิง ได้แก่
               1) อายุที่เข้าสู่วัยของการมีคู่
               2) การอยู่เป็นโสดถาวร
               3) ระยะเวลาในการอยู่ร่วมกัน
          1.2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการร่วมเพศระหว่างคู่ที่อยู่ด้วยกัน ได้แก่
               4) การงดเว้นการร่วมเพศโดยสมัครใจ
               5) การงดเว้นการร่วมเพศโดยไม่สมัครใจ
               6) ความบ่อยครั้งในการร่วมเพศ
     2) กลุ่มตัวแปรการปฏิสนธิ (conception variables) แบ่งเป็น
               7) ความไม่สามารถตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ
               8) การใช้หรือไม่ใช้การคุมกำเนิด
               9) ความไม่สามารถตั้งครรภ์โดยตั้งใจ (การทำหมันหญิง หมันชาย การใช้วิธีทางการแพทย์ ฯลฯ)
     3) กลุ่มตัวแปรการครองครรภ์ (gestation variables) แบ่งเป็น
               10) การตายของทารกในครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ คือ การแท้ง
               11) การตายของทารกในครรภ์โดยตั้งใจ คือ การทำแท้ง
     คิงส์ลีย์ เดวิส (Kingsley Davis) และจูดิท เบลก (Judith Blake) ได้เสนอเป็นกรอบการวิเคราะห์ภาวะเจริญพันธุ์ไว้ว่า การศึกษาผลของปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อภาวะเจริญพันธุ์ของประชากร จะต้องวิเคราะห์ผ่านตัวแปรระหว่างกลางเหล่านี้

ปรับปรุงล่าสุด 05/08/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015