ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

การเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพ

health transition

การเปลี่ยนแปลงสภาวะทางสุขภาพของประชากร อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านทางวิทยาการระบาด (epidemiologic transition) ซึ่งทำให้สาเหตุหลักของการเจ็บป่วยและการตายเปลี่ยนจากโรคติดเชื้อ เป็นโรคไม่ติดเชื้อ และโรคที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมของมนุษย์เป็นหลัก

ผลลัพธ์สำคัญของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพ คือ การตายลดลง โดยเฉพาะการตายของมารดาและเด็ก คนมีอายุยืนยาวขึ้น และจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เกิดรูปแบบการเจ็บป่วยและการตายอันเป็นปัญหาสุขภาพอย่างใหม่ขึ้นด้วย ที่สำคัญคือ การเจ็บป่วย การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ เนื่องจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์เอง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ ความรุนแรง การบริโภคเกิน การใช้สารเสพติด มลพิษสิ่งแวดล้อม ความเครียดและอาการซึมเศร้า รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพ ปัจจุบันปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา จอห์น ชาลส์ คาลด์เวลส์ (John Charles Caldwell) นักประชากรศาสตร์ชาวออสเตรเลียเป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เมื่อ ค.ศ. 1990

ปรับปรุงล่าสุด 05/07/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015