ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

คนพลัดถิ่น

diaspora

กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในดินแดนหรือประเทศอันมิใช่บ้านเกิดดั้งเดิมของตน ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเมือง สงคราม ความขัดแย้ง การค้าขาย เศรษฐกิจ หรือการย้ายถิ่น (โดยตั้งใจ หรือถูกบังคับ)

คนพลัดถิ่น อาจจะมีหรือไม่มีสถานะเป็นคนชาติ (nationals) ของประเทศที่ตนอาศัยอยู่ และ/หรือประเทศอันเป็นบ้านเกิดเดิมของตน แต่คนพลัดถิ่นส่วนมากมักคงสายสัมพันธ์กับญาติพี่น้อง ชุมชน และวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้ แม้ว่าเมื่อเวลาผ่านไปนาน ความเข้มข้นของสายสัมพันธ์อาจจะลดลงบ้าง

คำ diaspora มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก  “dia” = over + “speiro” = to sow เดิมทีเดียวคำนี้ใช้อ้างถึงชุมชนชาวยิวที่กระจัดกระจายกันอยู่นอกปาเลสไตน์หลังจากถูกรุกรานโดยกองทัพบาบิโลเนียน ปัจจุบันคำนี้ถูกใช้กับกลุ่มคนหลายประเภท เช่น ผู้ลี้ภัยทางการเมือง (political refugees) คนต่างด้าว (alien residents) แรงงานอาคันตุกะ (guest workers) ผู้ย้ายถิ่น (migrants) คนที่ถูกขับออกนอกประเทศ  (expellees) กลุ่มชาติพันธุ์และเชื้อชาติชนกลุ่มน้อย (ethnic and racial minorities) ชุมชนคนต่างประเทศ (overseas communities)

ตามความหมายและคำอธิบายข้างต้น อาจสรุปได้ว่า คนพลัดถิ่นมีอยู่ในทุกประเทศ เช่นเดียวกับคนไทยที่พลัดถิ่นอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 09/02/2567

 

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015