ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ดัชนีคุณภาพอากาศ (เอคิวไอ)

air quality index (AQI)

ตัวชี้วัดปริมาณฝุ่นละอองและสารพิษในอากาศ

ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ เอคิวไอ  เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของคนทั่วไป ใช้ดัชนีนี้เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบ ถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่

ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ จะแสดงความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด คือ

  1. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
  2. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
  3. ก๊าซโอโซน (O3)
  4. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
  5. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
  6. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

ดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าตั้งแต่ 0-500 โดยทั่วไปแต่ละประเทศแบ่งระดับของคุณภาพอากาศแตกต่างกันไปตามผลกระทบต่อสุขภาพ

สำหรับประเทศไทย แบ่งดัชนีคุณภาพอากาศออกเป็น 5 ระดับ ตามผลของกระทบที่มีต่อสุขภาพจากดี โดยใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ดังนี้

ดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐาน และคุณภาพอากาศในวันนั้น จะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 04/08/2566

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015