ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

สังคมสูงอายุ

aged society

สังคมที่ประชากรได้มีอายุสูงขึ้นจนมีสัดส่วนประชากรสูงอายุ (ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป) สูงขึ้นถึงเกณฑ์ อันเป็นที่ยอมรับกันแล้ว ปัจจุบัน เกณฑ์ที่ยอมรับกันทั่วไป ที่จะเรียกสังคมหนึ่งสังคมใดเป็นสังคมสูงอายุ มีดังนี้

สังคมสูงอายุ หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วนสูงขึ้นเกินร้อยละ 10 หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วนสูงขึ้นร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด

สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (complete aged society) หมายถึง หมายถึงสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นสัดส่วนสูงขึ้นเกินร้อยละ 20 หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วนสูงขึ้นเกินร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด

สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (super aged society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วนสูงขึ้นเกินร้อยละ 28 หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วนสูงขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด

คำนี้บางทีใช้ว่า “สังคมสูงวัย”

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 04/08/2566

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015