ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

วยาคติ

ageism

อคติหรือการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล หรือกลุ่มบุคคลด้วยเหตุแห่งอายุหรือวัย

วยาคติ (วย + อคติ) มาจากคำว่า วย (วัย หรืออายุ) สนธิกับคำว่า อคติ (ความลำเอียง หรือมีทัศนคติในทางลบ)

วยาคติ อาจเกิดขึ้นจากความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม หรือบรรทัดฐานในทางลบที่มีต่อคนบางกลุ่มอายุ ซึ่งนำไปสู่ความลำเอียงหรือการเลือกปฏิบัติ เช่น การไม่รับฟังความเห็นของวัยรุ่น เพราะเห็นว่าเด็กเกินไป หรือการไม่ยอมรับพฤติกรรมบางอย่างของผู้สูงวัย เพราะมีทัศนคติว่าผู้สูงอายุไม่ควรทำอย่างนั้น

โดยทั่วไป จะใช้คำว่า "วยาคติ" ที่มีความหมายถึง อคติ หรือทัศนคติเชิงลบ หรือการเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเฉพาะ เช่น การมองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระของครอบครัวและสังคม ผู้สูงอายุเป็นผู้ต้องพึ่งพิงคนวัยแรงงาน ผู้สูงอายุมีภาพลักษณ์ของความทรุดโทรมของสังขาร จนไม่สามารถเป็นผู้มีผลผลิตอีกต่อไป

สังคมไทย ซึ่งได้กลายเป็นสังคมสูงอายุแล้ว และกำลังมีอายุเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องลดวยาคติต่อผู้สูงอายุให้เหลืออยู่น้อยที่สุด มิฉะนั้นสังคมสูงอายุในอนาคตจะยากที่จะดำรงอยู่ได้อย่างสันติสุข

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 04/08/2566

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015