ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

weight for age

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ

ดัชนีชี้วัดที่มีความไวต่อการขาดอาหารของเด็ก

ระบบเฝ้าระวังทางโภชนาการนิยมใช้ดัชนีนี้ เพราะสามารถครอบคลุมปัญหาด้านการขาดอาหารได้เกือบทั้งหมด คำนวณโดยชั่งน้ำหนักเด็กคนนั้นเป็นกิโลกรัม แล้วเทียบกับน้ำหนักมาตรฐานของเด็กปกติ ซึ่งมักแสดงเป็นกราฟเส้น

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำมาตรฐานอ้างอิงของน้ำหนักตามเกณฑ์อายุของเด็กไทยอายุ 0-19 ปี ดังนี้

มากกว่า +2 SD น้ำหนักมาก (แต่ยังบอกไม่ได้ว่า เป็นโรคอ้วนหรือไม่ ต้องประเมินโดยใช้กราฟน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงประกอบ)
มากกว่า +1.5 SD แต่ไม่เกิน +2 SD น้ำหนักค่อนข้างมาก (น้ำหนักอาจอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อภาวะเริ่มอ้วน ต้องประเมินโดยใช้กราฟน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงประกอบ)
-1.5 SD แต่ไม่เกิน +1.5 SD น้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ (น้ำหนักเหมาะสมกับอายุ)
น้อยกว่า -1.5 SD แต่ไม่น้อยกว่า -2 SD น้ำหนักค่อนข้างน้อย (น้ำหนักอาจอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อการขาดอาหาร)
น้อยกว่า -2 SD น้ำหนักน้อย (น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อการขาดอาหารชัดเจน)

ปรับปรุงล่าสุด 15/10/2564

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015