ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

placebo

ยาหลอก

แป้ง น้ำตาล น้ำ หรือสารอะไรก็ได้ที่โดยตัวมันเองแล้วไม่ใช่ยา และไม่มีผลทางการรักษาใดๆ แต่นำมาทำให้ดูเสมือนเป็นยา และผู้ป่วยหรืออาสาสมัครในการทดลองก็เข้าใจว่าสิ่งที่ตนได้รับนั้นเป็นยาจริง

ยาหลอกใช้กันมากในการศึกษาเชิงทดลองทางคลินิกเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาในการรักษา

placebo มีรากศัพท์จากภาษาลาตินว่า (ฉัน) จะพอใจ [(I) shall be pleasing] โดยเมื่อนำมาใช้ในทางการแพทย์ช่วงแรกจะหมายความถึง การรักษาเพื่อเอาใจคนไข้มากกว่าเพื่อประโยชน์ในการรักษา

ในการรักษาจริง ถ้าผู้ป่วยได้รับยาหลอกแล้วมีอาการดีขึ้นหรือหายจากการเจ็บป่วย อันเป็นผลทางด้านจิตวิทยาที่ทำให้เชื่อว่ากำลังได้รับการรักษาจริงๆ ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า ผลดีของยาหลอก (placebo effect)

ถ้าคนไข้มีอาการแย่ลง เรียกว่า ผลร้ายของยาหลอก (nocebo effect) โดยคำว่า nocebo มีรากศัพท์จากภาษาลาตินว่า ฉันจะทำร้าย (I shall harm)

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 26/01/2566

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015