ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

policy research

การวิจัยเชิงนโยบาย

การวิจัยทางสังคมที่มุ่งประยุกต์ข้อค้นพบทางวิชาการให้เป็นทางแก้ปัญหาสังคม บางครั้งเรียกการวิจัยเชิงนโยบายนี้ว่า สังคมวิทยาประยุกต์ การวิจัยเชิงนโยบายอาจเป็นการประเมินโครงการหรือนโยบายที่ริเริ่มขึ้นใหม่ หรือที่มีอยู่ก่อนแล้ว อาจมีการอธิบายตัวอย่างของวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด วัดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พัฒนาแบบจำลองต่างๆ หรือทำเป็นงานวิจัยเชิงทดลองขนาดใหญ่ที่ดำเนินการอยู่เป็นเวลานานนับปี หรือหลายปี การวิจัยเชิงนโยบาย ส่วนมากใช้วิธีสหวิทยาการ ที่มักจะหลีกเลี่ยงศัพท์วิชาการที่เข้าใจกันในวงแคบเฉพาะสาขาวิชา ดังนั้น จึงไม่นิยมเรียกว่าเป็นการวิจัยทางสังคมวิทยา แม้ว่าสังคมวิทยามักจะมีส่วนมากกว่าสาขาอื่นๆ ในการปูพื้นฐานความรู้ทางทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัยก็ตาม

การวิจัยเชิงนโยบายมุ่งศึกษาปัจจัยทางสังคมที่สามารถนำไปปฏิบัติหรือวางเป็นนโยบายได้มากกว่า การวิจัยเชิงทฤษฎี เช่น การวิจัยเชิงทฤษฎีอาจศึกษาครอบครัวในฐานะเป็นจุดเริ่มต้นของบทบาทเพศ แต่การวิจัยเชิงนโยบายมุ่งเน้นบทบาทของระบบการศึกษาต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดและบุคลิกของเด็กในทิศทางที่พึงปรารถนา การวิจัยเชิงนโยบายได้สร้างสาขาวิชาย่อยใหม่ๆ ขึ้น เช่น วิชาแรงงานสัมพันธ์ นโยบายทางสังคม ในภาคธุรกิจ มักใช้คำ งานให้คำปรึกษา (consultancy work) แทนคำ "งานวิจัยเชิงนโยบาย"

พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ดูเพิ่มเติม

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015