ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

population ageing

การสูงวัยของประชากร

กระบวนการที่ประชากรมีอายุสูงขึ้น วัดได้จากสัดส่วน (proportion) ของประชากรสูงอายุ (aged population) หรือ อายุมัธยฐาน (median age) ที่เพิ่มสูงขึ้น

โดยทั่วไป ประชากรจะเปลี่ยนจากประชากรวัยเยาว์ (young population) ไปเป็นประชากรสูงอายุ (old population หรือ aged population) อันเนื่องมาจากภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) ที่ลดลง และคนมีอายุคาดเฉลี่ย (life expectancy) ยืนยาวขึ้น

ในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ประชากรไทยได้มีอายุสูงขึ้นอย่างมาก ในปี 2500 ประชากรสูงอายุของประเทศไทยมีอยู่ไม่ถึงร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด และอายุมัธยฐานก็ต่ำกว่า 20 ปี ในปี 2548 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็นสูงกว่าร้อยละ 10 ของประชากรไทย และอายุมัธยฐานก็เพิ่มขึ้นเป็นสูงกว่า 30 ปี ในปี 2567 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด จึงทำให้ประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (complete aged society) ในอนาคตอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (super aged society)

ปัจจุบันการที่ประชากรมีอายุสูงขึ้นเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ว่าจะในยุโรปตะวันตก หรืออเมริกาเหนือ หรือประเทศในเอเชียหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ประชากรได้มีอายุสูงขึ้นอย่างมากจนกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ไปแล้ว

ดูเพิ่มเติม สังคมสูงวัย

ปรับปรุงเมื่อ 20/12/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015