ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

model life tables

ตารางชีพตัวแบบ

ชุดของตารางชีพที่สร้างจำลองขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากแบบแผนการตายในตารางชีพจริงจำนวนมากของหลากหลายประเทศ เพื่อแสดงแบบแผนการตายรายอายุหลายๆ แบบที่มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดแตกต่างกันตั้งแต่น้อยไปหามาก

ตารางชีพตัวแบบใช้กันมาก ได้แก่ "ตารางชีพตัวแบบสำหรับประเทศกำลังพัฒนา" (Model Life Tables for Developing Countries)  "ตารางชีพตัวแบบตามภูมิภาคของโคลและดีเมนนี" (Coale and Demeny Regional Model Life Tables) ซึ่งจัดทำโดย Ansley Johnson Coale (1917-2002) ศาสตราจารย์ทางด้านประชากรศาสตร์ชาวอเมริกัน และ Paul Demeny (1932-   ) ศาสตราจารย์ทางด้านสถิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังกาเรียน

ตารางชีพตัวแบบมีประโยชน์มากทางประชากรศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับประเทศที่ไม่มีข้อมูลการตาย หรือข้อมูลที่มีอยู่ไม่สมบูรณ์หรือขาดคุณภาพของข้อมูลไม่ดี เช่น สมมุติให้ประชากรของประเทศนั้นๆ มีระดับหรือแบบแผนการตายเช่นเดียวกับระดับหรือแบบแผนการตายหนึ่งในตารางชีพตัวแบบ แล้วนำอัตราส่วนรอดชีพที่ได้ตรงกับตารางชีพตัวแบบนั้นมาใช้ เพื่อนำไปฉายภาพประชากรต่อไป

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 22/10/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015