ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

mean

ค่าเฉลี่ย

ตัวเลขหนึ่งที่เป็นค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่งๆ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดในชุดนั้นมีแนวโน้มที่จะเข้าใกล้หรือมีค่าใกล้เคียงกับค่านี้

ค่าเฉลี่ยหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิม เป็นการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางอย่างหนึ่ง ค่าเฉลี่ยมีหลายชนิด แต่ที่รู้จักและสอนกันในวิชาสถิติพื้นฐานมี 3 ชนิด คือ

  1. มัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean) หรือค่าเฉลี่ยเลขคณิต เป็นค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่งที่คำนวณโดยการรวมค่าทุกค่าในข้อมูลชุดนั้นแล้วหารด้วยจำนวนของข้อมูลที่มี สามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้

    เมื่อ    AM              หมายถึง มัชฌิมเลขคณิต
              x1 … xn      หมายถึง ข้อมูลตัวที่หนึ่ง สอง สาม จนถึงตัวที่ n
              n                 หมายถึง จำนวนของข้อมูลที่มี

    การใช้มัชฌิมเลขคณิต เหมาะสมกับค่าของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันเชิงเส้นตรง หรือเมื่อนำค่าของข้อมูลมาลงจุดกราฟ จุดต่างๆ จะอยู่หรือเกือบอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
  2. มัชฌิมเรขาคณิต (geometric mean) หรือค่าเฉลี่ยเรขาคณิต เป็นค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่งที่คำนวณโดยการหารากที่ n ของผลคูณของข้อมูลทั้งหมด ใช้เป็นค่ากลางสำหรับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เชิงผลคูณ(multiplicative relationship) ข้อมูลมีลักษณะเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว เช่น อัตราการเพิ่มของแบคทีเรีย, อัตราดอกเบี้ยทบต้น และเมื่อนำค่าของข้อมูลมาลงจุดกราฟ จะไม่อยู่ในลักษณะเชิงเส้นตรง สามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้

    เมื่อ      GM                หมายถึง มัชฌิมเรขาคณิต
               x1 … xn          หมายถึง ข้อมูลตัวที่หนึ่ง สอง สาม จนถึงตัวที่ n
               n                    หมายถึง จำนวนของข้อมูลที่มี

  3. มัชฌิมฮาร์โมนิก (harmonic mean) หรือค่าเฉลี่ยฮาร์โมนิก เป็นค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่งที่คำนวณโดยการหาส่วนกลับของข้อมูลแต่ละค่า ใช้เป็นค่ากลางสำหรับข้อมูลที่อยู่ในรูปอัตราส่วน X/Y เมื่อกำหนด X คงที่ เช่น 1) ข้อมูลที่เป็นอัตราเร็ว มีหน่วยเป็น ระยะทาง/เวลา เมื่อกำหนดระยะทางคงที่ จะคำนวณหาอัตราเร็วเฉลี่ยโดยใช้มัชฌิมฮาร์โมนิก 2) ข้อมูลที่เป็นอัตราการทำงาน มีหน่วยเป็น เวลา/หน่วย เมื่อกำหนดระยะเวลาคงที่ จะคำนวณหาอัตราการทำงานเฉลี่ย โดยใช้มัชฌิมฮาร์โมนิก

    เมื่อ      HM                หมายถึง มัชฌิมฮาโมนิก

                x1 … xn         หมายถึง ข้อมูลตัวที่หนึ่ง สอง สาม จนถึงตัวที่ n
                n                   หมายถึง จำนวนของข้อมูลที่มี

ดูเพิ่มเติม measure of central tendency

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 04/10/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015