ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

labour force

กำลังแรงงาน

ประชากรวัยทำงานทั้งหมด ทั้งที่มีงานทำและไม่มีงานทำแต่พร้อมที่จะทำงาน ประเทศไทยกำหนดให้กำลังแรงงานคือประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป

กำลังแรงงาน มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "ประชากรที่ทำงานเชิงเศรษฐกิจ" (economically active population) ซึ่งประกอบด้วยคนที่มีงานทำอยู่ และคนที่ไม่มีงานทำ แต่กำลังหางานทำอยู่ในขณะนั้น ประชากรส่วนที่ไม่ใช่กำลังแรงงานจึงเป็นคนที่ไม่ทำงานเชิงเศรษฐกิจ (economically inactive population) ซึ่งรวมแม่บ้าน หรือผู้ทำงานบ้านด้วยตนเอง (housewives / homemakers) นักเรียน / นักศึกษา นักโทษในเรือนจำ และประชากรกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้รับการสงเคราะห์จากรัฐหรือเอกชนโดยมิได้ทำงาน กำลังแรงงานอาจจำแนกตามประเภทของอุตสาหกรรม องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ได้จัดพิมพ์ "การจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากล" (international standard classification of occupations) เพื่อสะดวกในการเปรียบเทียบกำลังแรงงานในประเทศต่าง ๆ

http://service.nso.go.th/statstd/item_detail.jsp?id=1230

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015