ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

International Standard Classification of Occupations (ISCO)

การจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากล

การจัดประเภทอาชีพที่มีความคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มเดียวกันตามมาตรฐานสากล โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation) ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลของแต่ละประเทศสามารถเปรียบเทียบกันได้

การจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากลใน ค.ศ. 1988 ได้แบ่งอาชีพออกเป็น 10 ประเภทหลัก ดังนี้
1) ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ
2) ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ
3) ช่างเทคนิคสาขาต่างๆ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
4) เสมียน
5) พนักงานบริการ และพนักงานขายในร้านค้าและตลาด
6) ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรและการประมง
7) ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
8) ผู้ปฏิบัติการเครื่องจักรโรงงานและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ
9) อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ
10) กองกำลังทหารติดอาวุธต่างๆ

ปรับปรุงล่าสุด 23/08/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015