ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

induced abortion

การทำแท้ง

การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง

การทำแท้งอาจทำด้วยเหตุผลทางการแพทย์ อันเป็นการทำแท้งเพื่อรักษา (therapeutic abortion) ซึ่งประเทศส่วนใหญ่มักยินยอมให้ทำ โดยถือว่าเป็นการทำแท้งที่ถูกกฎหมาย (legal abortion) ส่วนการทำแท้งด้วยเหตุผลอื่นๆ เช่น ครอบครัวมีฐานะยากจน หรือสตรีที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม หลายประเทศถือว่าเป็นการทำแท้งที่ผิดกฎหมาย (illegal abortion)

การทำแท้งทำกันมานานแล้ว การทำแท้งโดยผู้ที่มิได้เป็นแพทย์หรือหมอเถื่อนมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีแบบพื้นบ้าน เช่น การใส่วัสดุ อาจเป็นรากไม้ หรือกิ่งไม้อ่อนใส่ในช่องคลอด หรือการบีบนวดบริเวณมดลูก หรือการกินยา หรือฉีดยาขับเลือด หรือการใส่ของเหลวบางอย่างเข้าไปในมดลูก โดยผ่านทางสายยางที่สอดผ่านปากมดลูกเข้าไป วิธีการเหล่านี้มีความเสี่ยง ที่จะก่อให้เกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อภายในมดลูกได้มาก เนื่องจากวัสดุหรือของเหลวที่ใส่เข้าไปไม่มีการฆ่าเชื้อ และของเหลวบางอย่างมีพิษด้วยตัวมันเอง

การทำแท้งโดยวิธีที่ถูกต้องในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจปลอดภัยพอสมควร แต่หลังจากนั้นอันตรายจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ การทำแท้งที่วงการแพทย์ใช้อยู่มีหลายวิธี เช่น การขูดมดลูก การใช้เครื่องดูดสุญญากาศ การปรับประจำเดือน การใช้น้ำเกลือเข้มข้นใส่เข้าไปในถุงน้ำคร่ำ การใช้ยารับประทานเพื่อให้การตั้งครรภ์สิ้นสุด

ดู abortion

05/08/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015