ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

older person

ผู้สูงอายุ

ผู้ที่มีอายุสูงเกินวัยแรงงาน (working age) อายุ 65 ปีขึ้นไป

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 3 บัญญัติว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี

สหประชาชาติ (United Nations) ใช้เกณฑ์ 65 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนอายุเริ่มต้นตามเกณฑ์ของสหประชาชาติด้วย

เมื่อคนๆ หนึ่งเกิดมาและมีอายุสูงขึ้น จะผ่านสถานะต่างๆ ตามช่วงวัยของตน คือเริ่มจากเป็นทารก เด็ก คนในวัยทำงาน (วัยกลางคน) และช่วงสุดท้ายของชีวิตต่อจากวัยกลางคน จึงเป็นผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ อาจแบ่งเป็นกลุ่มอายุย่อยได้อีก ถ้าใช้คำจำกัดความว่าผู้สูงอายุ คือผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะแบ่งเป็น ผู้สูงอายุวัยต้น อายุ 60-69 ปี ผู้สูงอายุวัยกลาง อายุ 70-79 ปี ผู้สูงอายุวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป

ถ้าใช้คำจำกัดความว่าผู้สูงอายุ คือผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะแบ่งเป็น ผู้สูงอายุวัยต้น อายุ 65-74 ปี ผู้สูงอายุวัยกลาง อายุ 75-84 ปี ผู้สูงอายุวัยปลาย อายุ 85 ปีขึ้นไป

ผู้มีอายุ 100 ปีขึ้นไป เรียกว่า ศตวรรษิกชน (centenarian) และผู้มีอายุ 110 ปีขึ้นไป เรียกว่า อภิศตวรรษิกชน (super centenarian)

เราใช้คำว่า ผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความหมายเป็นกลางๆ  และเพื่อหลีกเลี่ยงคำที่มีนัยยะสื่อไปทางการมีวยาคติ (ageism) เช่น ผู้เฒ่า คนแก่ คนชรา

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 28/11/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015