ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ageing

การสูงวัย

กระบวนการที่ประชากรมีอายุสูงขึ้น ทำให้สัดส่วนของประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลจากการที่ภาวะเจริญพันธุ์ลดต่ำลง ในขณะที่ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น

ในทางประชากรศาสตร์ การสูงวัย หมายถึง การสูงวัยของประชากร

การสูงวัยของประชากร อาจวัดได้หลายวิธี เช่น ใช้สัดส่วนของประชากรสูงอายุต่อประชากรทั้งหมด อายุมัธยฐาน (median age) อัตราส่วนพึ่งพิงวัยสูงอายุ (old-age dependency ratio) 

การสูงวัยทางชีววิทยา (biological ageing) หมายถึงการเข้าสู่วัยที่เซลล์ในร่างกายหยุดความสามารถในการแบ่งตัว ทำให้ไม่มีเซลล์ใหม่เกิดขึ้น ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ ในคนจะเริ่มเข้าสู่สภาวะนี้ เมื่ออายุประมาณ 30 ปี

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 21/07/2566

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015