ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

อัตราส่วนเพศ

sex ratio

อัตราส่วนของชายต่อหญิงหรือหญิงต่อชาย ในประชากรกลุ่มหนึ่ง ปกติจะแสดงเป็นค่าของจำนวนผู้ชายต่อผู้หญิง 100 คน

อัตราส่วนเพศนอกจากจะคำนวณสำหรับประชากรรวมทุกอายุแล้ว เรายังคำนวณอัตราส่วนเพศสำหรับประชากรในกลุ่มวัยต่างๆ ได้อีก 

อัตราส่วนเพศเมื่อเกิด (sex ratio at birth) หมายถึง จำนวนการเกิดที่เป็นเพศชายต่อการเกิดที่เป็นเพศหญิง 100 คน โดยธรรมชาติจะมีเด็กเกิดเป็นเพศชายมากกว่าเป็นเพศหญิง อัตราส่วนเพศเมื่อเกิดจะอยู่ในราวเกิดเป็นชาย 103 ถึง 107 รายต่อเกิดเป็นหญิง 100 ราย

อัตราส่วนเพศรายอายุ (age-specific sex ratio) หมายถึง จำนวนผู้ชายต่อผู้หญิง 100 คน ในกลุ่มอายุหนึ่ง เช่น อัตราส่วนเพศเมื่ออายุ 60-64 ปี เท่ากับ ผู้ชาย 80 คน ต่อผู้หญิง 100 คน

นอกจากนั้น เรายังสามารถคำนวณอัตราส่วนเพศสำหรับประชากรกลุ่มต่างๆ เช่น อัตราส่วนเพศของกลุ่มเกษตรกร อัตราส่วนเพศของคนทำงานในโรงงาน อัตราส่วนเพศของนักศึกษาคณะต่างๆ

ปรับปรุงเมื่อ 27/03/2568

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015