ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ความพึงพอใจในชีวิต

life satisfaction

ความอยู่ดีมีสุขทางใจ มีความหมายคล้ายกับความสุข (happiness) แต่ความพึงพอใจในชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลามากนัก มีลักษณะคงที่มากกว่าความสุข เนื่องจากเป็นผลจากกระบวนการประเมินชีวิตของตนเองในทุกด้านแล้วตัดสินใจว่า ตนเองมีความพึงพอใจในชีวิตมากน้อยเพียงใด

การวัดความพึงพอใจในชีวิต วัดได้โดยใช้คำถามเดียว หรือชุดคำถาม

การวัดด้วยคำถามเดียว เช่น ในภาพรวม คุณพึงพอใจในชีวิตระดับใด คำตอบเป็นมาตราช่วง (interval scale)

ส่วนใหญ่ใช้ 0 ถึง 10 หรือมาตราอันดับ (ordinal scale) เช่น น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด

การวัดความพึงพอใจในชีวิต วัดด้วยชุดคำถาม เช่น งานของ Edward Francis Diener (1946-2021) ศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยา ชาวอเมริกัน และคณะ ประกอบด้วยคำถาม 5 ข้อ ที่ได้แปลเป็นหลายภาษารวมทั้งภาษาไทยด้วย ดังนี้  (https://eddiener.com/scales/7) 

  1. โดยภาพรวมแล้วชีวิตของฉันใกล้เคียงกับอุดมคติที่ฉันนึกฝันไว้
  2. สภาพชีวิตต่างๆ ของฉันดีมาก
  3. ฉันมีความพึงพอใจในชีวิตที่เป็นอยู่
  4. จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ฉันได้รับสิ่งที่สำคัญตามที่ฉันต้องการในชีวิตแล้ว
  5. ถ้าฉันสามารถย้อนหลังกลับไปยังชีวิตในอดีตที่ผ่านมาได้ ฉันก็แทบไม่อยากแก้ไขอะไรมันเลย

คำตอบแต่ละข้อเป็นแบบมาตราช่วง (interval scale) 1 ถึง 7

เราอาจวัดความพึงพอใจในชีวิตในแต่ละด้านของชีวิตได้ด้วย เช่น ครอบครัว การเงิน หน้าที่การงาน

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 13/09/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015