ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ชีวเจตนา

living will

เอกสารซึ่งบุคคลทำไว้ขณะยังมีชีวิตอยู่และมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ว่า เมื่อตนอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของชีวิตและไม่อยู่ในสภาพที่จะตัดสินใจใดๆ แล้ว ให้ผู้เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาลและบุคคลรอบข้างปล่อยให้ตนเสียชีวิตไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษใดๆ ที่จะยื้อชีวิตของตนไว้

ชีวเจตนาได้รับการรับรองจากพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 ซึ่งกำหนดว่า

“บุคคล มีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียง เพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่ง แล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

คำนี้ บางทีใช้ว่า “พินัยกรรมชีวิต”
 

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 13/09/2567

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015