ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

โครงสร้างอายุ

age structure

จำนวนหรือสัดส่วนของประชากรกลุ่มหนึ่งที่จำแนกออกเป็นอายุต่างๆ กัน ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุสูงสุด

โครงสร้างอายุประชากร อาจจำแนกอายุเป็นรายปี เริ่มตั้งแต่ 0 ปี 1 ปี 2 ปี เรื่อยไป จนถึงอายุสูงสุด แต่ในบางครั้งการจำแนกอายุเป็นรายปีจะละเอียดเกินไป ปกตินิยมจำแนกประชากรออกเป็นกลุ่มอายุ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 0-4 ปี 5-9 ปี 10-14 ปี เรื่อยไปจนถึงกลุ่มอายุสุดท้าย ที่มักใช้เป็นกลุ่มอายุเปิด เช่น 85 ปีขึ้นไป ในปัจจุบันเมื่อประชากรสูงวัยขึ้น จึงควรที่จะให้กลุ่มอายุสุดท้ายสูงขึ้นด้วย เช่น เป็นกลุ่มอายุ 100 ปีขึ้นไป นอกจากแบ่งเป็นกลุ่มอายุ 5 ปีแล้ว เราอาจแบ่งกลุ่มอายุเป็นกลุ่ม 10 ปี เช่น 0-9 ปี 10-19 ปี เรื่อยไปจนถึงกลุ่มอายุสุดท้าย เช่น 100 ปีขึ้นไป หรือเราอาจแบ่งกลุ่มอายุออกตามวัยต่างๆ ของประชากร เช่น วัยเด็ก อายุ 0-14 ปี วัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี และวัยสูงอายุ อายุ 60 ปี หรือ 65 ปีขึ้นไป ก็ได้

ปรับปรุงล่าสุด 7/07/2566

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015